สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 17-23ก.ค.60

สับปะรด

          ผลผลิต ลดลง

          ปริมาณผลผลิตสับปะรดที่ออกสู่ตลาดในเดือนกรกฎาคม 2560 ประมาณ 0.090 ล้านตัน หรือร้อยละ 4.41 ของปริมาณผลผลิตรวม 2.040 ล้านตัน ลดลงจากปริมาณ 0.219 ล้านตัน ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 58.90 แต่เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.088 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ร้อยละ 2.27

          การส่งออก เพิ่มขึ้น
ปี 2560 (มกราคม-พฤษภาคม) มีการส่งออกสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์ปริมาณรวม 0.895 ล้านตันสด เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.872 ล้านตันสด ในช่วงเดียวกันของปี 2559 หรือลดลงร้อยละ 2.64

          ราคา เพิ่มขึ้น

          เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูกาล ผลผลิตสับปะรดออกสู่ตลาดลดลง ส่งผลให้โรงงานแปรรูปสับปะรดปรับราคารับซื้อสับปะรดจากเกษตรกรเพิ่มขึ้น โดยราคาที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ มีดังนี้ 
          - สับปะรดโรงงานกิโลกรัมละ 4.41 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.68
และลดลงจากกิโลกรัมละ 12.02 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ ผ่านมาร้อยละ 63.31

          - สับปะรดบริโภคกิโลกรัมละ 7.23 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.14 และลดลงจากกิโลกรัมละ 12.73 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่
ผ่านมาร้อยละ 43.20

ข่าวรายสัปดาห์ 17-23 ก.ค. 60

ถั่วเหลือง

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา 
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
          ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ

          สถานการณ์การผลิตถั่วเหลืองโลก (กรกฎาคม 2560)
          กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาคาดการณ์ความต้องการเมล็ดถั่วเหลืองจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ในปี 2560/61 จากความต้องการโปรตีนสำหรับอาหารสัตว์ในประเทศจีนที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้การนำเข้าถั่วเหลืองของจีนเพิ่มขึ้นจาก 89 ล้านตันในปี 2559/60 เป็น 93 ล้านตัน ในปี 2560/61 จากการที่จีนเป็นประเทศผู้ผลิตเนื้อหมูสูงถึงร้อยละ 50 ของโลก นอกจากนี้จีนยังเป็นผู้ผลิตเนื้อไก่ รวมทั้งสินค้าสัตว์น้ำ รายใหญ่ของโลกด้วย ซึ่งคาดว่าความต้องการถั่งเหลืองของจีนในปี 2560/61 ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจะเป็นโอกาสให้สหรัฐอเมริกาสามารส่งออกถั่วเหลืองได้เพิ่มมากขึ้น 
          อาร์เจนติน่า ส่งออกถั่วเหลืองลดลง 500,000 ตัน เหลือ 8.5 ล้านตัน จากการแข่งขันของบราซิล
บราซิล นำเข้าถั่วเหลืองลดลง 150,000 ตัน เพื่อตัดส่วนนี้ให้แก่ปารากวัย จึงเหลือ ปริมาณนำเข้าเพียง 300,000 ตัน 
          บังคลาเทศ นำเข้าถั่วเหลืองลดลงเหลือ 850,000 ตัน
          สำหรับราคาถั่วเหลืองเฉลี่ยในสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 367 ดอลล่าห์สหรัฐ/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 10 ดอลล่าห์สหรัฐ/ตัน 
          ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก) 
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 991.33 ( 12.32 บาท/กก.) ลดลงจาก บุชเชลละ 1,020.67 เซนต์ ( 12.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.87 
          ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 323.97 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.95 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 335.87 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.48 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.54
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 33.21 เซนต์ (24.75 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 33.61 เซนต์ (25.32 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.19

     หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน

ข่าวสัปดาห์ 17-23 ก.ค. 2560

ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้
          ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)

          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกันยายน 2560 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 68.58 เซนต์
(กิโลกรัมละ 51.21 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 68.06 เซนต์ (กิโลกรัมละ 51.37 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.16 บาท

17 - 23 กรกฎาคม 2560
สุกร
 
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ 
     สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อสุกรชะลอตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มคาดว่าราคาจะ ทรงตัว  
     สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 60.23 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.86 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 58.42 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 58.27 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 60.51 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 65.21 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,700 บาท (บวกลบ 64 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ  
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
 
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
     ภาวะตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่ชะลอตัวลง แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว 
     ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.01 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.31 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 38.40 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 37.77 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
     ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
     ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.96

 

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

     สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคใกล้เคียงกับผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะ ทรงตัว 
     ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
     ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 270 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 269 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.37 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 260 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 276 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 270 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
     าคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
     ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 291 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด

     ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 335 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 334 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.30 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 363 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 311 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 338 บาท 
     ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
     ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ 
 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 95.87 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 95.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.44 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 93.49 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.22 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 95.41 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 96.45 บาท

 

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

     ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 76.54 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.53 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.01 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.99 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 73.37 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ข่าวสัปดาห์ 17-23 ก.ค. 2560
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
     ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.02 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.03 
          ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.47 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.41 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.19

          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
          ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

          ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

ข่าวสัปดาห์ 17-23 ก.ค.60

ถั่วเขียว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 

          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.90 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 30.00 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 27.00 
          ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
          ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
          ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
          ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
          ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
          ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
          ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
          ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 775.40 ดอลลาร์สหรัฐ (25.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 767.25 ดอลลาร์สหรัฐ (25.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.06 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท 
          ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 624.80 ดอลลาร์สหรัฐ (20.90 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 618.25 ดอลลาร์สหรัฐ (20.89 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.06 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท 
          ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 799.40 ดอลลาร์สหรัฐ (26.75 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 791.00 ดอลลาร์สหรัฐ (26.73 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.06 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท

ข่าวสัปดาห์ 17 - 23 ก.ค. 60

 

 
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ  

  

               ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

               ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.34 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.36 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.31 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 4.34 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69 
               ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.44 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.71 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.28 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.10 
               ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 269.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,020 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 268.75 ดอลลาร์สหรัฐ (9,082 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 62.00 บาท

  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ  

               กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2560/61 ว่ามี 1,063.60 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,054.05 ล้านตันในปี 2559/60 ร้อยละ 0.91 โดยสหรัฐอเมริกา
จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อียิปต์ เวียดนาม แคนาดา อิหร่าน อาร์เจนตินา และเกาหลีใต้
มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลก มี 150.79 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 144.47 ล้านตัน ในปี 2559/60 ร้อยละ 4.37 โดย บราซิล อาร์เจนตินา รัสเซีย ปารากวัย สหภาพยุโรป แคนาดา และเมียนมาร์ ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น เม็กซิโก สหภาพยุโรป เวียดนาม เกาหลีใต้ อียิปต์ อิหร่าน โคลัมเบีย แอลจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย และมาเลเซีย มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น (ตารางแนบท้าย)
               ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2560 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 380.32 เซนต์ (5,071 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 390.20 เซนต์ (5,254 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.53 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 183.00 บาท

ข่าวสัปดาห์ วันที่ 17 - 23 กรกฎาคม 2560

ไหม

          ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,617 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,604 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.81
          ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,333 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,317 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.21
          ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,100 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,064 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.38


ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี